เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 13. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
ของเที่ยง โดยความเป็นสุข โดยความเป็นตัวตน มิได้เห็นความเกิด ความดับ คุณ
โทษ หรือการสลัดออกแห่งธรรมเหล่านั้นเลย รวมความว่า นรชนเมื่อเห็นย่อมเห็น
นามรูป
คำว่า ครั้นเห็นแล้ว ในคำว่า หรือครั้นเห็นแล้ว ก็รู้จักเฉพาะนามรูป
เหล่านั้นเท่านั้น อธิบายว่า ครั้นเห็นแล้วด้วยปรจิตตญาณบ้าง เห็นแล้วด้วย
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณบ้าง เห็นแล้วด้วยมังสจักขุบ้าง เห็นแล้วด้วยทิพพจักขุบ้าง
ครั้นเห็นเพียงนามรูปนั่นเองแล้ว ก็รู้จักโดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นสุข
โดยความเป็นตัวตน มิได้รู้จักความเกิด ความดับ คุณ โทษ หรือการสลัดออกแห่ง
ธรรมเหล่านั้นเลย รวมความว่า หรือครั้นเห็นแล้ว ก็รู้จักเฉพาะนามรูปเหล่านั้น
เท่านั้น
คำว่า นรชนเห็นนามรูปมากบ้างน้อยบ้างโดยแท้ ได้แก่ เห็นนามรูปมาก
บ้างน้อยบ้าง โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นสุข โดยความเป็นตัวตนโดยแท้
รวมความว่า นรชนเห็นนามรูปมากบ้างน้อยบ้างโดยแท้
คำว่า ผู้ฉลาดทั้งหลาย ในคำว่า ถึงอย่างนั้น ผู้ฉลาดทั้งหลายก็ไม่กล่าว
ความหมดจดเพราะการเห็นนามรูปนั้น อธิบายว่า ผู้ฉลาดในขันธ์ ผู้ฉลาดในธาตุ
ผู้ฉลาดในอายตนะ ผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท ผู้ฉลาดในสติปัฏฐาน ผู้ฉลาดใน
สัมมัปปธาน ผู้ฉลาดในอิทธิบาท ผู้ฉลาดในอินทรีย์ ผู้ฉลาดในพละ ผู้ฉลาดในโพชฌงค์
ผู้ฉลาดในมรรค ผู้ฉลาดในผล ผู้ฉลาดในนิพพาน ผู้ฉลาดเหล่านั้น ไม่กล่าว ไม่พูด
ไม่บอก ไม่แสดง ไม่ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป
ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป เพราะการเห็นนามรูป ด้วยปรจิตตญาณบ้าง ด้วย
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณบ้าง ด้วยมังสจักขุบ้าง ด้วยทิพพจักขุบ้าง รวมความว่า
ถึงอย่างนั้น ผู้ฉลาดทั้งหลายก็ไม่กล่าวความหมดจดเพราะการเห็นนามรูปนั้น
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
นรชนเมื่อเห็นย่อมเห็นนามรูป
หรือครั้นเห็นแล้ว ก็รู้จักเฉพาะนามรูปเหล่านั้นเท่านั้น
นรชนเห็นนามรูปมากบ้างน้อยบ้างโดยแท้
ถึงอย่างนั้น ผู้ฉลาดทั้งหลายก็ไม่กล่าวความหมดจด
เพราะการเห็นนามรูปนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :387 }